Lecture

บทที่ 5 ออกแบบระบบเนวิเกชั่น Designing Web Navigation
ระบบเนวิเกชั่น
ความสำคัญ
ช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้างและควรจะไปทางไหนต่อ
วัตถุประสงค์
-ผู้ชมกำลังอยู่ส่วนใดของเว็บ
-สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างไร
-สามารถกลับไปยังหน้าเว็บเดิมได้อย่างไร
-หน้าเว็บเพจใดที่ได้เยี่ยมชมข้อมูลแล้ว 
รูปแบบของเนวิเกชัน แบ่งเป็น4รูปแบบ
1.ระบบเนวิเกชันแบบลำดับขั้น
2.ระบบเนวิเกชันแบบโกลบอล
 3.ระบบเนวิเกชันแบบโลคอล
4.ระบบเนวิเกชันเฉพาะที่
องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)
      ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชั่นบาร์ เนวิกเกชันเฟรม Pull down, menu, pop-up menu, image map และ search box
เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)
           เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น แบบโกลบอล และแบบโคบอล โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้ และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)
     การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิเกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน
......................................................................................................
บทที่ 7  การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม
Design for a variety of Web Environments
ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
1.       เบราเซอร์ที่ใช้
2.       ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
3.       ความละเอียดของหน้าจอ
4.       จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
5.       ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
6.       ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
7.       ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
8.       ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี
1.เบราเซอร์ที่ใช้
                 เบราเซอร์ที่ได้รับความนิยม  Internet Explorer,Netscape Navigator,The World,Opera,Mozilla,Firefox
การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
- เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกรุ่น
- เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
- เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
- เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
2ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิด และรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้ ระดับความระเอียดของหน้าจอ เป็นต้น
3. ความละเอียดของหน้าจอ
ความละเอียด 640*480 หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 พิกเซล   ความละเอียดหน้าจอจะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้ แต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ด
4. จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
- มอนิเตอร์สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ
- หน่วยความจำในการ์ดจอที่มากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
- จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้ ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth
ชุดสีสำหรับเว็บ หมายถึงชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac
5. ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
เบราเซอร์จะแสดงฟอนต์ที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก้ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีฟอนต์เหล่านั้นติดตั้งอยู่ในเครื่อง 
 MS Sans Serif  VS Microsoft Sans Serif
-  MS Sans Serif เป็นฟอนต์แบบบิตแมพที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
-  Microsoft Sans Serif เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระแบบเวคเตอร์หรือลายเส้นโดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดีแต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
ข้อดี
   สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอน ทั้งขนาด สี และชนิด  
   ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นเหมือนกันหมด
ข้อเสีย
    ใช้เวลาในการโหลดมากกว่า
   ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
6. ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ความเร็วของเน็ตจะมีผลต่อการแสดงผลของเว็บ ซึ่งจะมีหลายระดับ
ผู้ใช้ตามบ้านส่วนใหญ่จะใช้ความเร็ว 5 kbps
- ในหน่วยงานบางแห่งอาจจะใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เข่น ADSL, Cable modem ซึ่งมีความเร็วตั้งแต่ 128 Kbps ถึง 10 Mbps
7. ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์
ขนาดหน้าต่างของเบราเซอร์มีโอกาสที่จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการของผู้ใช้
                  ......................................................................................................
บทที่ 9 การออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บเพจ  ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผุ้ใช้  รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูยิ่งขึ้น
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิกคือ  การเลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป  โดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปแบบกราฟฟิก  ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะไม่สมบูรณ์และมีไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็น
รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ   ( GIF , JPG , และ PNG)
- GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
                - ได้รับความนิยมในยุคแรก
                -  มีระบบเสียงแบบ  Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด  256 สี
                -  มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล  เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
-  JPG  ย่อมาจาก  Joint Photographic Experts Group
                - มีข้อมูลสีขนาด  24  บิต  (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง  16.7  ล้านสี
                -  ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย  (lossy)
                -  ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
 - PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic
                -  สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง  8  บิต  16  บิต  และ  24  บิต
                -  มีระบบการบีบอัดแบบ  Deflate  ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย  (lossless)
                -  มีระบบการควบคุมแกมม่า  (Gamma)  และความโปร่งใส  (Transparency)  ในตัวเอง
ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
รูปภาพใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์  นั่นก็คือหน่วยพิกเซล  ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆในหน้าเว็บ  รวบถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์
ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย  pixel  per  inch  (ppi)
แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย  dot  per  inch  (dpi)  ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน  ppi
ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่  72  ppi ก็เพียงพอแล้ว
ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทที่นำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
      Adobe  Photoshop  เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
      Adobe  ImangeReady  ลักษณะหน้าตาและเครื่องมือคล้ายคลึงกับ  Photoshop  แต่จะถูกพัฒนาข้นเพื่องานกราฟฟิกโดยเฉพาะ   เพิ่มความสามารถในการสร้าง  animation  ได้
      Firework  มีคุณสมบัติในการตกแต่งตัวอักษรกราฟฟิกที่เห็นผลทันที  การแสดงค่าของสีในระบบเลขฐานสิบหก  การสร้างภาพเคลื่อนไหว  การตัดแบ่งภาพให้มีขนาดเล็กๆสำหรับไฟล์  HTML
  กราฟฟิกรูปแบบ  GIF
มีไฟล์นามสกุลเป็น  .gif
ลักษณะเด่นของ  GIF  คือการไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการใดๆ
-  GIF  เป็นกราฟฟิกประเภทเดียวที่ไม่สามารถนำไปใช้เบราเซอร์ทุกชนิด  โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวอร์ชันใดๆ
-  GIF  มีคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว
-  GIF  มีระบบสีแบบ  Index  เก็บข้อมูลสีได้สูงสุด  8  bit
คุณสมบัติ  Interlacing  คือการบันทึกไฟล์  GIF  เป็น  4  ระดับ  คือ  ที่คุณภาพ  12.5% , 25% , 50% , 100%  ตามลำดับ
ข้อดี  คือผู้ใช้เห็นภาพที่กำลังดาว์นโหลดอยู่มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ข้อเสีย  คือขนาดไฟล์จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
กราฟฟิกรูปแบบ  JPEG
มีนามสกุลเป็น  .jpg  หรือ  .jpeg
ใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลแบบ  JFIF  (JPEG  File  interchange  format)
-   ไฟล์ประเภท  JPEG  ไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการใดๆและสามารถใช้ได้กับเบราเซอร์ทั้ง  Netscape  และ  IE  version  2  เป็นต้นไป
ใช้ระบบสีขนาด  24  บิต  ซึ่งจะให้สีสมจริงมากถึง  16.7  ล้านสีส่งผลให้ได้รูปที่มีคุณภาพสูง
ระบบการบีบอัดข้อมูลในไฟล์  JPEG
เป็นการบีบอัดแบบ  lossy  คือสูญเสียรายละเอียดบางส่วนของภาพไป  อาศัยประโยชน์จากการที่สายตาคนเราสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆในบริเวณกว้างๆได้ดีกว่าการเปลี่ยนแปลงในบริเวณแคบๆ
 คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ
ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ  (Web Palette)
เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม  GIF  หรือ  JPEG
ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย  (Slices)
สามารถปรับแต่งชิ้นส่วนของกราฟฟิกได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบริเวณ